ความรู้หรือข้อกฎหมายอื่นๆ

583 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ความรู้หรือข้อกฎหมายอื่นๆ

ความรู้หรือข้อกฎหมายอื่นๆ

องค์กรของท่านปฏิบัติตามกฎหมายป้องกันและปราบปรามฟอกเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้วหรือยัง?

ท่านมีระบบ INTERNAL CONTROL ด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินอย่างเข้มแข้งหรือไม่

          พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติมฉบับต่างๆ  นอกจากจะเป็นกฎหมายที่มีจุดเด่นในการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของอาชญากรหรือผู้กระทำความผิดมูลฐานกว่า 29 มูลฐานแล้ว ยังเป็นกฎหมายที่กำหนดภาระหน้าที่ให้ผู้ประกอบธุรกิจ ทั้งสถาบันการเงินและผู้ประกอบอาชีพ 10 กลุ่มธุรกิจ ต้องมีมาตรการในการจัดให้ลูกค้าแสดงตน มาตรการบริหารความเสี่ยงด้านการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงภายในองค์กร มาตรการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า มาตรการในการบริหารความเสี่ยงผลิตภัณฑ์และบริการ รวมถึงมาตรการในการ “ควบคุมภายใน” องค์กร

          กฎกระทรวงการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า พ.ศ. 2563 ข้อ 49 วรรค 2 กำหนดให้สถาบันการเงินและผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา 16 ต้องมี “กลไกในการตรวจสอบภายในที่เป็นอิสระ” ด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินภายในองค์กร ประกอบกับ ประกาศสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เรื่อง การกําหนดและดําเนินการตามนโยบายและระเบียบวิธีการเกี่ยวกับการควบคุมภายใน ของสถาบันการเงินและผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา 16 พ.ศ. 2564 กำหนดให้ต้องมีส่วนงานหรือพนักงานหรือผู้ตรวจสอบจากภายนอก รับผิดชอบในการตรวจสอบภายในที่เป็นอิสระจากการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทําลายล้างสูงภายในองค์กร เพื่อตรวจสอบการดําเนินงานและการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทําลายล้างสูงโดยเพื่อให้เกิดความเป็นอิสระในการตรวจสอบ เราจึงขอนำเสนอบริการ การดำเนินการควบคุมภายใน (ตรวจสอบ) ด้าน ด้าน AML/CTPF สำหรับองค์กรท่าน โดยจัดทำ “รายงานผลการตรวจสอบภายในด้าน AML/CTPF”  เสนอต่อผู้บริหารขององค์กรท่าน เพื่อสอดคล้องกับประกาศสำนักงาน ปปง. ดังกล่าว

*AML/CTPF = Anti-Money Laundering/Counter-Terrorism and Proliferation of Weapon of Mass Destruction Financing  การป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง

ความผิดมูลฐานของการฟอกเงินทั้ง 29 มูลฐาน

  1. ยาเสพติด
  2. การค้ามนุษย์ 
  3. การฉ้อโกงประชาชน
  4. การยักยอก/ฉ้อโกง / ประทุษร้ายต่อทรัพย์ หรือกระทำโดยทุจริตตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์หรือตลาดหลักทรัพย์
  5. ความผิดต่อหน้าที่ราชการ
  6. การกรรโชก หรือ รีดเอาทรัพย์
  7. การหลบหนีศุลกากร
  8. การก่อการร้าย
  9. การพนัน
  10. การเลือกตั้ง
  11. อั้งยี่ / องค์กรอาชญากรรม
  12. องค์กรอาชญากรข้ามชาติ
  13. รับของโจรลักษณะเป็นการค้า
  14. ปลอมแปลงเงินตรา ลักษณะเป็นการค้า
  15. ความผิดเกี่ยวกับการค้าและทรัพย์สินทางปัญญา
  16. ปลอมเอกสารสิทธิ บัตรอิเล็กทรอนิกส์ Passsport เป็นปกติธุระ / เพื่อการค้า
  17. ทรัพยากรธรรมชาติ มีลักษณะเป็นการค้า
  18. ประทุษร้ายชีวิต / ร่างกายสาหัส ตาม ป.อ. เพื่อประโยชน์ ซึ่งทรัพย์สิน
  19. หน่วงเหนี่ยวกักขัง ตาม ป.อ. เพื่อเรียกรับผลประโยชน์
  20. ลักทรัพย์ ยักยอก ฉ้อโกง ชิงปล้น มีลักษณะเป็นการค้า
  21. โจรสลัด
  22. ซื้อขายหลักทรพย์
  23. ความผิดเกี่ยวกับอาวุธ
  24. สนับสนุนการเงินแก่การก่อการร้าย
  25. สนับสนุนการแพร่ขยายอาวุธที่มีอำนาจทำลายล้างสูง
  26. ความผิดเกี่ยวกับหลบเลี่ยงภาษี
  27. จูงใจให้สมัคร/ถอนการสมัคร สว.
  28. บังคับใช้แรงงานหรือบริการ เป็นเหตุให้เป็นอันตรายสาหัสหรือถึงแก่ความตาย
  29. จูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนหรืองดเว้นการลงคะแนนให้แก่ผู้สมัครเลือกตั้ง

ที่มา : เวปไซต์สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน


Powered by MakeWebEasy.com